28 เม.ย. 2554

ออสเตรเลีย

    มาทำความรู้จักกับออสเตรเลีย
 ออสเตรเลียมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า Commonwealth of Australia (เครือรัฐออสเตรเลีย) ออสเตรเลียเคยเป็นประเทศอาณานิคมของอังกฤษมาก่อน ปัจจุบันออสเตรเลียเป็นประเทศในเครือจักรภพ ที่ตั้งประเทศอยู่บนเกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก และในขณะเดียวกันออสเตรเลียก็เป็นทวีปที่เล็กที่สุดในโลก ออสเตรเลียเป็นประเทศใหม่ แม้จะมีประวัติความเป็นมาในการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ที่ไม่ยาวนาน แต่ออสเตรเลียก็เป็นประเทศที่มีเอกลักษณ์ของตนเอง
         
                                             ธงชาติของออสเตรเลีย



                                                          
  มีลักษณะและสีสันคล้ายคลึงกับธงชาติของนิวซีแลนด์ พื้นธงชาติออสเตรเลียเป็นสีนำ้เงิน มีธงยูเนียนแจ็กของอังกฤษอยู่บนมุมด้านซ้ายแสดงให้เห็นถึงความผูกพันที่ ออสเตรเลียเคยเป็นประเทศในเครือจักรภพของอังกฤษมาก่อน ถัดมาเกือบกลางธงมีดาวเจ็ดแฉก สีขาว 4 ดวง กับดาวห้าแฉก 1 ดวง รวมกลุ่มอยู่ทางด้านขวา และมีดาวดวงใหญ่อยู่ใต้ธงอังกฤษอีกดวงหนึ่ง ดาวดวงใหญ่นี้มีเจ็ดแฉก แทนจำนวนรัฐในประเทศออสเตรเลีย และกลุ่มดาวดวงเล็กนั้นวางอยู่ในรูปกลุ่มดาวเซาเทิร์นครอสซึ่งเป็นกลุ่มดาว ที่สุกใสที่สุดในซีกโลกใต้
                                            สีประจำชาติออสเตรเลีย
      สีประจำชาติออสเตรเลียคือสีเขียวเข้มและสีเหลืองทอง ซึ่งเป็นสีของดอก Golden Wattle  ดอกไม้ประจำชาติออสเตรเลีย ออสเตรเลียประกาศใช้สีเขียวเข้มกับสีเหลืองทอง เป็นสีประจำชาติอย่างเป็นทางการเมื่อปีค.ศ.1984
                                                         
                                            ตราแผ่นดินออสเตรเลีย

       ประกอบด้วยรูปโล่งอยู่ตรงกลาง ภายในโล่แบ่งออกเป็นสองส่วนๆบรรจุตราประจำรัฐ มีจิงโจ้และนกอีมูสัตว์พื้นเมืองออสเตรเลียยืนประคองโล่อยู่ข้างละตัว ประกอบด้วยช่อดอกโกลเดนวัตเทิล ด้านล่างเป็นแถบชื่อประเทศออสเตรเลีย ด้านบนเหนือโล่ขึ้นไปเป็นดวงดาวเจ็ดแฉกสีทอง พระเจ้าจอร์จที่ 5 แห่งอังกฤษ ทรงพระราชทานตราแผ่นดินให้กับออสเตรเลียในปีค.ศ.1912
          
                                          ภาษา
       ออสเตรเลียใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ แต่ภาษาอังกฤษของออสเตรเลียมีศัพท์และสำนวนหลายอย่างที่แต่ต่างจากภาษา อังกฤษ ภาษาอะบอริจินส์ถูกนำมาใช้ปะปนกับภาษาอังกฤษแบบออสซี่ จะพบบ่อยว่าชื่อของสถานที่ต่างๆในออสเตรเลียนั้นเรียกชื่อตามชาวอะบอริจินส์
                                                       
                                          วันหยุดประจำปี
                        1 มกราคม                                   วันปีใหม่
                        26 มกราคม                                 วันชาติ
                       ศุกร์และจันทร์อีสเตอร์                 ราวปลายเดือนมีนาคมหรือต้นเดือนเมษายน
                       25 เมษายน     Anzac Day เป็นวันระลึกถึงทหารผ่านศึกชาวออสซี่ที่ร่วมรบในสงครามโลก
                      วันจันทร์ที่ 2 ของเดือนมิถุนายน   วันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระราชนีนาถ
                       25 ธันวาคม                                   วันคริสต์มาส
                       26 ธันวาคม                                   วัน Boxing day
                                                                                                                                                               
                                          การแบ่งเขตการปกครอง
       ออสเตรเลียแบ่งการปกครองประเทศออกเป็น 6 รัฐ  และเขตการปกครอง 2 เขต ได้แก่
                          รัฐนิวเซาท์เวลส์                                       เมืองหลวงคือ ซิดนี่ย์
                          รัฐควีนแลนด์                                           เมืองหลวงคือ บริสเบน
                          รัฐวิกตอเลีย                                            เมืองหลวงคือ เมลเบิร์น
                          รัฐแทสมาเนีย                                         เมืองหลวงคือ โฮบาร์ต
                          รัฐออสเตรเลียใต้                                    เมืองหลวงคือ อะเดเลด
                          รัฐออสเตรเลียตะวันตก                           เมืองหลวงคือ เพิร์ท
                          เขตนอร์เทิร์นทอริทอรี                             เมืองหลวงคือ ดาร์วิน
                     และเขตนครหลวงออสเตรเลีย ที่ตั้งกรุงแคนเบอร์รา เมืองหลวงของประเทศ
             ออสเตรเลียมีดินแดนในอาณัติที่อยู่นอกอาณาเขตประเทศอีก 7 แห่ง ล้วนเป็นเกาะอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก คือ Christmas Island, Ashmore and Cartier Islands, Cocos (Keeling) Islands, Coral Islands, Heard Island and McDonald Islands และ Norfolk Island


                                 www.unitefl.com

ผลไม้อีสาน

        ผลไม้อีสานรสแซบ พลาดไม่ได้ต้องชิม คนอิสานแค่เห็นภาพก็ต้องรู้จัก
บักขามป้อม
บักตะขบ
บักเม่า
บักหว้า
บักเม็ก
บักยางป่า
บักเค็ง
บักแงว
บักผีผ่วน
บักกี่โกย
บักหวดข่า
บักบก
บักค้อ
บักหาด


บักเบน
บักแซว
บักต่องแล่ง
บักส้มมอ
บักหวายป่า
บักเล็บแมว
                                                    "บักห่าเมริง"                                                                

15 เม.ย. 2554

เกาะหมาก

            ไกลจากชายฝั่งที่ท่าเรือแหลมงอบออกไปยังท้องทะเลสีคราม 35 กิโลเมตร มีเกาะๆ หนึ่ง ที่เป็นเจ้าของหาดทรายสวยหลายหาด ร่มรื่นไปด้วยทิวมะพร้าว แม้จะเป็นเกาะไม่ใหญ่เท่าเกาะช้าง แต่ความสวยงามไม่น้อยหน้ากันเลย ที่สำคัญสำหรับผู้ที่ปรารถนาจะมีอาณาจักรส่วนตัว เกาะหมาก คือความฝันที่เป็นจริง                  
             เกาะหมาก เป็นเกาะที่อยู่ในกิ่งอำเภอเกาะกูด มีถนนรอบเกาะ 27 กิโลเมตร ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นพื้นราบ มีหาดทรายสวยๆ หลายหาด ยังมีเกาะบริวารรายล้อม เกาะหมาก อีกหลายเกาะ เช่น เกาะขาม เกาะระยั้งนอก เกาะระยั้งใน            
ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต
             ท่าเรืออ่าวนิด : อยู่ทางทิศตะวันออกของเกาะ เป็นท่าเรือประจำ เกาะหมาก มีร้านขายของชำ ถือเป็นศูนย์กลางของเกาะก็ว่าได้
    อ่าวสวนใหญ่ : มีชายหาดที่สวยและทอดยาวที่สุดของ เกาะหมาก เป็นจุดชมพระอาทิตย์ตกที่สวยงามร่มรื่นด้วยป่าสน และต้นมะพร้าว เล่นน้ำได้ เป็นที่ตั้งของ เกาะหมาก รีสอร์ต อยู่ใกล้กับ เกาะขาม ข้ามเรือไปเที่ยวได้
    อ่าวขาว : ชายหาดขาวสะอาดสดชื่น สงบเงียบ เล่นน้ำได้ เป็นจุดชมพระอาทิตย์ตกที่สวยงามแห่งหนึ่ง
    อ่าวฮอลิเดย์ บีช : ตลอดแนวหาดร่มรื่นด้วยสวนมะพร้าว สงบเงียบ เล่นน้ำได้ เป็นที่ตั้งฮอลิเดย์ บีบ รีสอร์ต
    อ่าวเลซี่เดย์ บีช :  ชายหาดสวย เล่นน้ำได้ ร่มรื่นด้วยสวนมะพร้าว วิวสวย
    จุดชมวิวเขาแผนที่ : เป็นบริเวณที่สูงสุดของ เกาะหมาก จึงเห็นวิวทั้งที่ราบเบื้องล่างของ เกาะหมาก และเกาะข้างเคียง                            
              " เกาะหมาก " มีพื้นที่ 13 ตารางกิโลเมตร (8,125 ไร่) ตั้งอยู่ระหว่างเกาะช้าง เกาะกูด ในท้องทะเลอ่าวไทย จังหวัดตราด อยู่ห่างจากเกาะช้าง 30 กิโลเมตร ห่างจากเกาะกูด 22 กิโลเมตร เกาะหมาก เป็น 1 ใน 9 เกาะ ของหมู่ เกาะหมาก ประกอบด้วย เกาะหมาก เกาะกระดาด เกาะระยั้งใน เกาะระยั้งนอก เกาะผี เกาะขาม เกาะนก เกาะนอก เกาะใน หมู่ เกาะหมากปัจจุบันขึ้นอยู่กับตำบล เกาะหมาก กิ่งอำเภอเกาะกูด
มีอยู่เพียง 2 หมู่บ้าน คือหมู่ 1 บ้านอ่าวนิด หมู่ 2 บ้านแหลมสน ประชากรประมาณ 350 คน
        สภาพพื้นที่ เกาะหมาก เป็นที่ราบชายฝั่งและภูเขาสูงบางส่วน ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำสวนมะพร้าว สวนยางพารา และระยะหลัง 3-4 ปี ที่ผ่านมามีอาชีพที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น โดยรอบ เกาะหมากจะมีหาดทรายขาวสะอาด โดยเฉพาะบริเวณที่เป็นอ่าว 3-4 อ่าว คือ อ่าวสวนใหญ่ อ่าวพระ อ่าวขาว อ่าวนิด และที่หมู่เกาะใกล้ ๆ มีแหล่งปะการังที่สมบูรณ์ ดังนั้น เกาะหมาก จึงเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สวยงามอีกแห่งหนึ่งของหมู่เกาะใน จังหวัดตราด ซึ่งในปัจจุบัน 2-3 ปีที่ผ่านมา " เกาะหมาก " ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวมาท่องเที่ยวและพักผ่อนเป็นจำนวนมาก รองจากเกาะช้าง เกาะกูด คาดว่าในอนาคต เกาะหมาก จะเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สำคัญของจังหวัดตราด ที่ใครต่อใครต้องการมาสัมผัสกับบรรยากาศที่เงียบสงบ ท่ามกลางธรรมชาติที่บริสุทธิ์และสวยงามที่นับวันจะหายากลงไปทุกที         
ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต
                                
หลวงพรหมภักดี ต้นตระกูล "ตะเวทีกุล"...ผู้ตั้งรกรากบน เกาะหมาก เป็นคนแรก
" เกาะหมาก " เป็นเกาะหนึ่งที่มีประวัติความเป็นมา หรืออดีตที่เป็นประวัติศาสตร์ของเกาะที่น่าสนใจ
    เนื่องจากเป็นเกาะเดียวที่พื้นที่เกาะทั้งหมดเกือบ 9,000 ไร่ มีเจ้าของเป็นทายาทของ "ตระกูลตะเวทีกุล" เพียงตระกูลเดียวจากอดีตถึงปัจจุบัน รวมระยะเวลา 100 ปีเศษ ทั้งนี้ นายจักรพรรดิ์ ตะเวทีกุล วัย 54 ปี กำนันตำบล เกาะหมาก ในปัจจุบัน และเจ้าของผู้จัดการ เกาะหมาก รีสอร์ตและ เกาะหมาก แฟนตาเซีย ผู้เป็นทายาท รุ่นที่ 4 เล่าว่า หลวงพรหมภักดี (นายเปลี่ยน ตะเวทีกุล) ผู้มีศักดิ์เป็นคุณชวด เป็นผู้เข้ามาครอบครอง เกาะหมาก เป็นคนแรก เมื่อปี พ.ศ.2447 โดยซื้อจากเจ้าของเดิมชื่อ เจ้าสัวเส็ง ปลัดจีนในสมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเข้ามาจับจองทำสวนมะพร้าวไว้ในราคา 300 ชั่ง (ชั่งละ 80 บาท ) หลวงพรหมภักดีขณะนั้นเป็นปลัดจีนอยู่ที่ จังหวัดประจันตคีรีเขตร์ (เกาะกง ของกัมพูชาในปัจจุบัน) ขณะนั้นเป็นของไทยอยู่ แรกทีเดียวได้ส่งบุตรชาย 3 คน มาทำสวนมะพร้าวอยู่ก่อน คือ นายอู๋ นายเอิบ นายอาบ ตะเวทีกุล ต่อมาเมื่อไทยเสียเมืองตราด หมู่เกาะต่างๆ รวมทั้งเมืองประจันตคีรีเขตร์ให้กับฝรั่งเศสเพื่อแลกกับการที่ฝรั่งเศสถอน ทหารออกจากเมืองจันทบุรี หลวงพรหมภักดียังคงทำมาค้าขายอยู่ที่เกาะปอ เมืองประจันตคีรีเขตร์ จนกระทั่งอีก 6 ปีต่อมา คือ พ.ศ. 2453 จึงได้อพยพครอบครัวมาตั้งรกรากที่ เกาะหมาก ทำสวนมะพร้าวขนาด 3,000-4,000 ไร่ และสร้างบ้านเรือนอยู่ที่บริเวณอ่าวสวนใหญ่ซึ่งมีหาดทรายอันสวยงาม มองเห็นเกาะข้างเคียงได้ชัดเจน เรียกกันว่า บ้านสวนใหญ่
                  หลวงพรหมภักดี ได้แต่งงานกับนางมู่ลี่ มีบุตร 7 คน ธิดา 4 คน รวม 11 คน และต่อมาแต่งงานกับนางทิม มีบุตรชายอีก 1 คน เมื่อบุตรสาวโตขึ้นแต่งงานไปใช้นามสกุลของฝ่ายชาย ฝ่ายชายสืบตระกูลตะเวทีกุลมาถึงปัจจุบัน 5-6 ช่วงอายุคนแล้ว สำหรับนายจักรพรรดิ์ ตะเวทีกุล ซึ่งปัจจุบันเป็นกำนันตำบล เกาะหมาก เป็นรุ่นที่ 4 บิดาชื่อ นายสันต์ ตะเวทีกุล มารดา คือ นางเฉลิม ศรีอรุณ ปู่ คือ นายอู๋ ตะเวทีกุล บุตรชายคนที่ 5 ของหลวงพรหมภักดี
    เมื่อสิ้นหลวงพรหมภักดี ปี พ.ศ. 2458 สวนมะพร้าวและที่ดินทั้งหมดบนเกาะถูกแบ่งเป็นมรดกให้ลูกๆ หลานๆ ทายาทของหลวงพรหมภักดี ซึ่งในยุครุ่นลูกนี้เองได้มีการนำยางพาราเข้ามาปลูกเป็นจำนวนนับ 1,000 ไร่ และมีการสร้างโรงบ่มยางขึ้นภายในบริเวณบ้านสวนใหญ่ ดังนั้น ในปัจจุบันจึงไม่น่าแปลกใจเลยว่าพื้นที่ เกาะหมาก ทั้งหมด 9,500 ไร่ เป็นที่สาธารณประโยชน์ 500 ไร่ ที่เหลือ 9,000 ไร่ ล้วนแต่เป็นของพี่ๆ น้องๆ ในสายตระกูลตะเวทีกุลเพียงตระกูลเดียวเท่านั้น มีบ้างเล็กน้อยที่ขายให้กับคนต่างถิ่นที่มาลงทุนสร้างรีสอร์ทแต่เป็นส่วน น้อยนิด
    นับจากปี พ.ศ 2447 ที่หลวงพรหมภักดีได้เป็นเจ้าของ เกาะหมาก มาถึงทายาทในปัจจุบันปี พ.ศ. 2547 รวมระยะเวลา 100 ปี เมื่อวันที่ 13-14 กุมภาพันธ์ 2547 ที่ผ่านมานี้ กำนันจักรพรรดิ์ ตะเวทีกุล ร่วมกับญาติๆ ทั้งหมดได้ร่วมกันจัดงานเฉลิมฉลองรำลึกถึงหลวงพรหมภักดี และเพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวบน เกาะหมาก โดยจะถือเอางานเฉลิมฉลองนี้เป็นเอกลักษณ์ของชาว เกาะหมาก จัดงานเป็นประจำทุกปี เพราะนับวันการท่องเที่ยวจะเติบโตเป็นเศรษฐกิจที่สำคัญบนเกาะหมาก อาจจะทำรายได้ให้ชาวบ้านบน เกาะหมาก มากกว่าการทำอาชีพเกษตรกรรม สวนมะพร้าว สวนยางพารา

                               
ข้อมูลจาก  :  www.rakbankerd.com

Songkran in Chiang Mai on12-15 April 2011



























































                           
                   www.unitefl.com