13 ก.พ. 2554

วัดสวนดอก จ.เชียงใหม่

           วัดสวนดอกในอดีตนั้น เป็นสวนดอกไม้(ต้นพยอม) ของเจ้านายฝ่ายเหนือ ใน ราชวงศ์เม็งราย โดยใน พ.ศ.1914 (ศักราชนี้ถือตาม หนังสือชินกาลมาลีปกรณ์ของพระรัตนปัญญาเกตุ) พระเจ้ากือนา กษัตริย์องค์ที่ 6 แห่ง ราชวงศ์เม็งราย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้างเป็น "อารามหลวง" เพื่อให้เป็นที่จำพรรษาของ "พระมหาเถระสุมน" ผู้ประดิษฐานพระพุทธศาสนาลักธิลังกาวงศ์ ในแผ่นดินล้านนา และสร้างองค์พระเจดีย์เพื่อประดิษฐาน "พระบรมสารีริกธาตุ" 1ใน 2 องค์ที่ "พระมหาเถระสุมน" อัญเชิญมาจากสุโขทัย ในปี พ.ศ.1912 (องค์หนึ่งประดิษฐานอยู่ในเจดีย์ ในวัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร)


           ในสมัยราชวงศ์เม็งราย วัดสวนดอก มีความเจริญรุ่งเรืองมาก แต่หลังจากสิ้นราชวงศ์เม็งราย บ้านเมืองตกอยู่ในอำนาจของพม่า ทั้งเกิดจราจล วุ่นวาย วัดนี้จึงกลายสภาพเป็นวัดร้างไป วัดสวนดอก ได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่อีกครั้งรัชสมัย พระเจ้าบรมารชาธิบดีกาวิละ แห่งราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์(เจ้าเจ็ดตน) และได้รับการทำนุบำรุงจากเจ้านายฝ่ายเหนือ และประชาชนเชียงใหม่มาโดยตลอด

        ในความรู้สึกของตัวเอง ไม่ว่าวัดจะผ่านการบูรณะใหม่กี่ครั้ง ถึงจะไม่ได้ยินเรื่องราวในอดีตที่ผ่านมา แต่ทุกครั้งที่ได้เดินเข้าไป ทำบุญ กราบไหว้ แม้กระทั่งแวะเข้าไปเยี่ยมชมเฉยๆ ยังรู้สึกถึงกลิ่นไอของอดีต ความรุ่งเรื่อง ความยิ่งใหญ่ และความศรัทธาที่ผ่านกาลเวลามาจนถึงปัจจุบัน

         วัดสวนดอกต่อมาได้รับการบูรณะครั้งสำคัญ 2 ครั้ง ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2450 พระราชชายา เจ้าดารารัศมีในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญรวบรวมพระอัฐิ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ และพระประยูรญาติมาประดิษฐานรวมกัน และต่อมาอีกครั้งหนึ่งในปี พ.ศ. 2475 เป็นการบูรณะปฏิสังขรณ์องค์พระวิหารโดย พระครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนา

      ไม่รู้จะกล่าวยังไงดี ภาพที่มองเห็น คือที่ประดิษฐาน พระอัฐิ ของ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่และพระประยูรญาติ และภูเขาที่มองเห็นด้านหลังหนึ่งในนั้นคือ ดอยสุเทพ ถ้ายืนมองจากมุมนี้ ก็จะมองเห็นวัดพระธาตุดอยสุเทพ ได้อย่างชัดเจน



 ทุกย่างก้าวในแต่ละวัด หรือแม้แต่ละมุมของเมืองเชียงใหม่ มีเรื่องราวบอกเล่าตัวเอง น่าสนใจในทุกๆสถานที่                                                                                                                                      

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น