8 มี.ค. 2554

วัดเชียงมั่น จ.เชียงใหม่

      วัดเชียงมั่น หรือ วัดเชียงหมั้นเป็นวัดที่เก่าแก่ที่สุดในตัวเมืองเชียงใหม่ เป็นวัดแรกในเขตกำแพงเมือง ตั้งอยู่เลขที่ ๑๗๑ บ้านเชียงมั่น ถนนราชภาคินัย ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ใกล้ ๆ กับโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย
       ประวัติความเป็นมาของวัดเชียงมั่นที่ ปรากฎในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่และพงศาวดารโยนก มีดังนี้คือ หลังจากที่พญางำเมือง พญาร่วง และพญามังรายทรงสร้างเมืองเชียงใหม่ สำเร็จในปี พ.ศ.๑๘๓๙ แล้ว ทั้งสามพระองค์ทรงโปรดให้สร้างเจดีย์ขึ้นตรงที่หอนอนบ้านเชียงมั่นซึ่งพญา มังรายทรงสร้างเป็นที่ประทับชั่วคราว ในระหว่างที่ควบคุมการสร้างเมืองใหม่โดยให้ชื่อที่ประทับแห่งนั้นว่า "เวียงเล็ก" หรือ "เวียงเหล็ก" หมายถึง "ความมั่นคงแข็งแรง" ต่อมาเมื่อพญามังรายเสด็จแปรพระราชทานไปยังพระราชนิเวศน์มณเฑียรสถานแห่ง ใหม่ซึ่งเรียกว่า "เวียงแก้ว" (ปัจจุบันคือเรือนจำกลางเชียงใหม่) แล้ว ทรงอุทิศตำหนักคุ้มหลวงเวียงเหล็ก ถวายแด่พระศาสนา โดยตั้งเป็นพระอารามหลวงแห่งแรกและพระราชทานนามอันเป็นมงคลว่า "วัด เชียงมั่น" อันหมายถึงบ้านเมืองที่มีความมั่นคง
       ทั้งนี้ ศิลาจารึกวัดเชียงมั่นพุทธศักราช ๑๘๓๙ ได้จารึกไว้ว่า "ศักราช ๖๕๘ ปีรวายสัน เดือนวิสาขาออก ๘ ค่ำ ขึ้น ๕ ไทยเมืองเปล้า ยามแตรรุ่งแล้ว สองลูก นาฑี ปลายสองบาทน้ำ ลัคคนาเสวยนวางค์ประหัส ในมีนยะราศี พญามังรายเจ้า พญางำเมือง พญาร่วง ทังสามคน ตั้งหอ นอนในที่ไชยภูมิ ราชมณเฑียร ขุดคือก่อตรีบูรทั้งสี่ด้านและก่อเจติยะทัดที่นอนบ้านเชียงมั่น ในขณะยาม เดียวนั้น ที่นั้นลวดสร้างเป็นวัด หื้อทานแก่แก้วทังสามใส่ชื่อว่าวัดเชียงหมั้น ต่อบัดนี้ ..." จึงนับได้ว่า วัดเชียงมั่นเป็นพระอารามหลวงแห่งแรกในเขตกำแพงเมืองเชียงใหม่ คือสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.๑๘๓๙ จาก นั้นคาดว่าเจดีย์นี้ได้พังลงมาในสมัยของพระเจ้าติโลกราช กษัตริย์ราชวงค์มังรายลำดับที่ ๑๐ (ครอง ราชย์ พ.ศ.๑๙๘๕ - ๒๐๓๑) พระองค์จึงโปรดให้สร้างขึ้นใหม่ด้วยศิลาแลงในปี พ.ศ.๒๐๑๔
     ต่อมาในปี พ.ศ.๒๐๙๔ เชียงใหม่ได้ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า วัดเชียงมั่นจึงถูกทอดทิ้งให้ เป็นวัดร้าง ครั้นถึง พ.ศ.๒๑๐๑ เจ้าฟ้ามังทรา (สมเด็จพระมหาธัมมิกะราชาธิราช)แห่งพม่า ทรงมีพระราชศรัทธาในพุทธศาสนา โปรดให้พระยาแสนหลวงสร้างเจดีย์ วิหาร อุโบสถ หอไตร ธัมมเสนาสนะกำแพง และประตูโขงขึ้นที่วัดเชียงมั่น โดยมีพระมหาหินทาทิจจวังสะเป็นเจ้าอาวาสเมื่อถึงสมัยพระยากาวิละครองเมือง เชียงใหม่ (พ.ศ.๒๓๒๔ - ๒๓๕๘) ได้ทำการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดเชียงมั่นขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง หลังจากที่วัดนี้ได้ตกอยู่ในสภาพวัดร้างเมื่อครั้งที่ทำสงครามกอบกู้เอกราช คืนมาจากพม่า ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๓๑๙ ต่อมาในสมัยของเจ้าอินทวโรรส (พ.ศ.๒๔๔๐ - พ.ศ.๒๔๕๒) พระพุทธศาสนาแบบธรรมยุกนิกายได้เข้ามาเผยแผ่ในอาณาจักรล้านนา เจ้าอินทวโรสจึงได้นิมนต์พระธรรมยุตมาจำพรรษาอยู่ที่วัดเชียงหมั้นเป็นครั้ง แรก ภายหลังย้ายไปอยู่วัดหอธรรมและวัดเจดีย์หลวงตามลำดับ
   นอกจากวัด เชียงมั่นจะมีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์ของเมืองเชียงใหม่ ในฐานะที่เป็นพระ อารามหลวงแห่งแรกในเขตกำแพงเมืองแล้ว เมื่อถึงเทศกาลสลากภัตร หรือ ทานก๋วยสลาก จะมีการ ทานข้าวสลากที่วัดนี้ก่อนแล้วจึงจะทำที่วัดอื่น ๆ ต่อไป ในสมัยพญามังราย วัดเชียงหมั้นยังเป็นศูนย์กลางการศึกษาและเผยแผ่พระพุทธศาสนาอีกด้วย นอกจากนี้ วัดเชียงมั่นเป็นสถานที่รวบรวมโบราณวัตถุ จำนวนมาก
                                                                              
                                                                      
                                                                            
                                                                                  
หอไตร
                                                                         
                                                                            
                                                                                
ดอกสาละ
ต้นสาละ
    ในขณะที่เดินถ่ายรูป กำลังจะกลับพอดี มองไปเห็นต้นไม้มีดอกสวยงามมาก ก็เลยนมัสการถามหลวงพี่ที่เดินผ่านมาว่าต้นอะไร ได้คำตอบว่าต้นสาละ ของจริงสวยมาก
                                                                                                                            

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น