บริเวณใกล้เคียงกับพระบรมราชานุสรณ์สามกษัตริย์ |
พญาร่วง(พ่อขุนราคำแหงมหาราช) พระมหากษัตริย์แห่ง อาณาจักรสุโขทัยพระองค์ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่สามของ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ทรงพระบรมเดชานุภาพมากเมื่อพระชนมายุได้ ๑๙ พรรษา ได้กระทำยุทธหัตถีชนะขุนสามชนเจ้า เมืองฉอด ปรากฏพระเกียรติยศไพศาลเป็นที่คร้ามเกรงแก่บรรดาหัวเมืองต่างๆ สมัยนั้น พระองค์ทรงปกครองบ้านเมืองและอาณา ประชาราษฎร์ให้ได้รับความร่มเย็นเป็นสุขทุกถ้วนหน้า และได้ทรงประดิษฐ์อักษรไทย เมื่อปี พ.ศ. ๑๘๒๖ ซึ่งใช้สืบมาจนถึงทุกวันนี้ ทรงครองราชย์เมื่อประมาณปี พ.ศ. ๑๘๒๒ และสิ้นพระชนม์เมื่อประมาณปี พ.ศ. ๑๘๔๒
พญางำเมือง ประสูติเมื่อปีจอ พ.ศ. ๑๗๘๑ ทรงปกครองเมืองพะเยาสืบต่อจากพญามิ่งเมืองพระราชบิดา เมื่อ พ.ศ. ๑๘๐๑ เมื่อทรงพระเยาว์ได้ศึกษาศิลปวิทยาร่วมสำนักอาจารย์เดียวกับพญามังราย จึงเป็นพระสหายสนิทแต่นั้นมา พระองค์ทรงอานุภาพเสมอ เท่าเทียมกันในการปกครองบ้านเมืองนั้น ได้ทรงใช้วิเทโศบายผูกมิตรไมตรีกับอาณาจักรใกล้เคียง บ้านเมืองจึงร่มเย็นเป็นสุขตลอดมา
พระราชาธิราชทั้งสามพระองค์ ได้ทรงกระทำสัตย์ปฏิญาณผูกมิตรทรงดื่มน้ำสัตยาผสมโลหิตจากนิ้วพระหัตถ์ เพื่อเป็นมิตร น้ำร่วมสาบานไม่เป็นศัตรูต่อกัน ณ ฝั่งแม่น้ำอิง เขตเมืองพะเยา
เมื่อพญามังรายได้ทรงสร้างเมืองเชียงรายแล้ว ต่อมาได้ทรงสร้างเมืองฝางและตีได้เมืองหริภุญไชยจากพญายีบาได้สร้าง เวียงกุมกาม ซึ่งปัจจุบันอยู่ในท้องที่อำเภอสารภี ภายหลังทรงพบชัยภูมิเมืองอันเป็นศุภนิมิตรมงคล ๗ ประการ เป็นที่ราบริมน้ำปิงกับ ดอยสุเทพ พญามังรายจึงได้เชิญพระสหาย คือ พญาร่วงและพญางำเมืองมาร่วมปรึกษาหารือ ตั้งพิธีกัลปบาตฝังนิมิตหลักเมือง ในวัน พฤหัสบดี เพ็ญเดือน ๖ พ.ศ. ๑๘๓๙ จันทร์เสวยฤกษ์ ๑๖ ยามแตรจักใกล้รุ่งไว้ลัคนาเมืองในราศรีมินอาโปธาตุ สร้างเสร็จในปีเดียวกันขนานเมือง ใหม่นี้ว่า "นพบุรีศรีนครพิงค์เมืองเชียงใหม่"
ถนนด้านหน้าอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ |
จากพระบรมรูปตามจินตนาการ พญามังรายประทับยืนกลาง สองพระกรโอบไปเบื้องพระปฤศฎางค์ของพระสหายทั้งสองอย่างรักใคร่สนิทสนม ทอดพระเนตรมายังพญาร่วงซึ่งประทับยืนเบื้องซ้าย ทรงท้าวพระหัตถ์ข้างซ้ายไว้บนบั้นพระองค์กำลังทรงชี้พระดรรชนีข้างขวาลงสู่ พื้นปถพี แสดงถึงพระราชดำรัส ปรากฏตามประวัติการสร้างเมืองเชียงใหม่อันน่าภูมิใจว่า
" เมืองนี้ข้าศึกจะทำร้ายมิได้ คนไหนมีเงินพันมาอยู่จะมีเงินหมื่น ครั้นมีเงินหมื่นมาอยู่จะมีเงินแสน"
พญางำเมืองซึ่งประทับอยู่เบื้องขวา ไขว้พระหัตถ์ขวาไว้เบื้องพระปฤศฎางค์ พระหัตถ์ซ้ายผายมาทางพญาร่วงอย่างเห็นด้วย พลางถวายความเห็นว่า " ชัยภูมิของเมืองนี้ดีจริง เพราะเหตุว่าเนื้อดินมีพรรณรังษี ๕ ประการ และประกอบด้วยศุภนิมิตไชยมงคล ๗ ประการ"
ข้อมูลจาก http://www.nairoboo.com ,http://kanchanapisek.or.th
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น