วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร พญาผายู กษัตริย์เชียงใหม่ราชวงศ์เม็งราย โปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๑๘๘๘ ขั้นแรกให้สร้างเจดีย์สูง ๒๓ วา เพื่อบรรจุพระอัฐิ ของพญาคำฟู พระราชบิดา ต่อมาอีกสองปีจึงสร้างพระอาราม เสนาสนวิหาร ศาลาการเปรียญ หอไตร และกุฎิสงฆ์เรียบร้อย ทรงตั้งชื่อว่า "วัดลี" ต่อมาบริเวณหน้าวัดมีตลาดเกิดขึ้นชาวบ้านเรียกว่า "ตลาดลีเชียง" แล้วเรียกวัดว่า "วัดลีเชียง" และ "วัดลีเชียงพระ" ระหว่างปี พ.ศ. ๑๙๓๑ - ๑๙๕๔ สมัยพระเจ้าแสนเมืองมา ขึ้นครองนครเชียงใหม่โปรดให้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาจากเมืองเชียงราย เมื่อขบวนช้างอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาถึงหน้าวัดลีเชียงก็ไม่ยอมเดินทางต่อ
พระเจ้าแสนเมืองมาจึงให้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ประดิษฐาน ณ วัดลีเชียง ประชาชนทางเหนือนิยมเรียก"พระพุทธสิหิงค์" สั้นๆ ว่า "พระสิงห์" จึงเรียกชื่อวัดตามพระพุทธรูปว่า "วัดพระสิงห์"
เมื่อถึงปี พ.ศ. ๒๓๕๔ พระเจ้ากาวิละได้ โปรดฯ ให้สร้างอุโบสถ และหอไตรขึ้น โดยมีลักษณะเป็นอาคารทรงล้านนาขนาดใหญ่ ตรงกลางอาคารมีกู่ซึ่งแต่เดิมคงเป็นสถานที่ที่ประดิษฐานพระประธาน
พระเจ้าแสนเมืองมาจึงให้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ประดิษฐาน ณ วัดลีเชียง ประชาชนทางเหนือนิยมเรียก"พระพุทธสิหิงค์" สั้นๆ ว่า "พระสิงห์" จึงเรียกชื่อวัดตามพระพุทธรูปว่า "วัดพระสิงห์"
เมื่อถึงปี พ.ศ. ๒๓๕๔ พระเจ้ากาวิละได้ โปรดฯ ให้สร้างอุโบสถ และหอไตรขึ้น โดยมีลักษณะเป็นอาคารทรงล้านนาขนาดใหญ่ ตรงกลางอาคารมีกู่ซึ่งแต่เดิมคงเป็นสถานที่ที่ประดิษฐานพระประธาน
วิหารลายคำ สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าเมืองแก้ว (พ.ศ.2038 – พ.ศ.2068) และมาซ่อมแซมใหม่สมัยพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 6 ในสมัยรัตนโกสินทร์ (พ.ศ.2399 – พ.ศ.2413) เป็นวิหารล้านนาที่มีความงามสมบูรณ์แบบที่สุด ภายในวาดภาพที่ฝาผนัง (มีอายุในสมัยรัตนโกสินทร์) เป็นเรื่องสุวรรณหงส์ และเรื่องสังข์ทอง นัยว่ามีการแข่งขันกันวาดภาพระหว่างช่างเมืองเหนือที่วาดภาพสังข์ทอง ส่วนทางด้านทิศใต้วาดเรื่องสุวรรณหงส์ ปัจจุบันนี้ได้มีการศึกษาภาพจิตรกรรมฝาผนังแห่งนี้โดยละเอียดแล้ว พบว่าเป็นช่างของภาคเหนือทั้งสองด้าน ด้านทิศเหนือเป็นฝีมือของ “เจ็กเส็ง” ด้านทิศใต้เป็นฝีมือของ “หนานโพธา” ด้านในมีแท่นประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ ที่ชาวเชียงใหม่นับถือว่าเป็นพระพุทธรูปที่สำคัญและศักดิ์สิทธิ์ได้มาจาก ลังกา ผู้ช่วยศาสตราจารย์นันทนา ปกป้อง ได้ให้ข้อคิดเห็นว่า จากลักษณะขององค์พระพุทธสิหิงค์แล้ว เป็นพระเชียงแสนรุ่นแรกนี่เอง หมายถึงเป็นสกุลช่างของชาวภาคเหนือ มิใช่เป็นพระพุทธรูปแบบลังกา ตามที่มีกล่าวไว้ในประวัติหรือป้ายที่แจ้งเอาไว้เหนือประตูทางเข้าเลย
หอไตรหลังนี้สร้างขึ้นในสมัยพระเมืองแก้ว ประมาณ พ.ศ. ๒๐๔๐ เคยได้รับการบูรณะซ่อมแซมในสมัยเจ้ากาวิโรรสสุริยวงศ์ (พ.ศ.๒๓๙๗-๒๔๑๓) และอีกครั้งหนึ่งเมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสเมืองเชียงใหม่ปี พ.ศ.๒๔๖๙ ลักษณะเป็นอาคารทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ๒ ชั้น ชั้นล่างก่ออิฐถือปูน ชั้นบนเป็นไม้ มุงหลังคากระเบื้องดินเผา หันหน้าไปทางตะวันออก บันไดทางขึ้นด้านหน้าเป็นรูปมกรคาบสิงห์บนแท่นข้างละ ๑ ตัว ซุ้มประตูทางเข้าในส่วนหน้าบันไดเป็นบุษบกซ้อนกัน ๕ ชั้น แกะสลักลวดลายปูนปั้นพรรณพฤกษา พญานาค และประดับกระจกสี โดยรอบผนังด้านนอกอาคารชั้นล่างประดับด้วยลายปูนปั้น รูปเทวดา และเทพพนม จำนวน ๑๖ องค์ สัตว์หิมพานต์ อาทิ สิงห์ ช้าง กิเลน ปลา กวาง นกยูง คชสีห์ เหมราช และนรสิงห์ เป็นต้น ชั้นบนเป็นเครื่องไม้ทาสีแดงมีปูนปั้นประดับกระจกเป็นรูปดอกไม้ ๘ กลีบ และมีบราลีทำเป็นรูปหงส์อยู่บนสันหลังคา หอไตร เป็นอาคารที่ใช้สำหรับเก็บรักษาพระธรรม คัมภีร์และหนังสือใบลานต่าง ๆ ในพระพุทธศาสนา บางครั้งเรียกว่า หอพระไตรปิฎก
เดิมมาจนรอบวัด พอเดินมาถึงหอไตรเหมือนดั่งโดนมนต์สะกด สะดุดตาในความงามยิ่งความงามด้านศิลปะด้วยแล้ว ถ้ามองจากสายตาของตัวเอง คิดว่าน่าจะเกิดจากการผสมผสานจากหลากหลาย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น