10 มี.ค. 2554

หลวงพระบาง

       อดีตเมืองหลวงเก่าแก่ของลาว เมืองเล็กๆที่ตั้งอยู่ท่ามกลางขุนเขาที่โอบล้อม อุดมไปด้วยวัดวาอารามเก่าแก่ และบ้านเรือนที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นในสไตล์โคโลเนียลสไตล์ ตัวเมืองตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขงหรือที่คนลาวเรียกกันว่า แม่น้ำของ และแม่น้ำคานที่ไหลมาบรรจบกันเกิดเป็นแหลมกลางเมือง ซึ่งเป็นจุดเดียวกันกับ ภูสี ภูเขาขนาดย่อมที่มีพระธาตุจอมสีประดิษฐานอยู่บนยอด ซึ่งคงอยู่มานานหลายร้อยปี
       

       อาคารรูปแบบโคโรเนียลอายุ กว่า 100 ปีนั้นในยุคแรกๆถูกใช้เป็นสำนักงานหรือที่ คนลาวเรียกกันว่าห้องการ ของหน่วยราชการที่รับผิดชอบการปกครองเมืองและแขวงหลวงพระบาง จุดเด่นของอาคารเหล่านี้ก็คือวิธีการสร้างที่มีการผสมปูนซึ่งใช้ส่วนผสมจาก วัตถุดิบทางธรรมชาติ ได้แก่ น้ำอ้อยและหนังควาย โดยนำมาผสมรวมกัน และมีการดัดแปลงรูปแบบให้มีความเป็นลาวมากขึ้น ด้วยการประดับภาพลาวปูนปั้นตามความเชื่อทางศาสนาไว้บริเวณหน้าจั่ว
 
       องค์การยูเนสโก(UNESCO)ยกย่องให้หลวงพระบางเป็น เมืองมรดกโลกทางวัฒนธรรมที่ยังมีลมหายใจ เมื่อเดือนธันวาคม 2538 นับ ตั้งแต่นั้นนักเดินทางจากทั่วทุกมุมโลกต่างมุ่งตรงมา เพียงเพื่อจะสัมผัสความงดงามของเมืองมรดกโลก ที่ยังคงเอกลักษณ์ของความเป็นตัวของตัวเองในแบบอาณาจักรล้านช้างเมื่อครั้ง อดีต ทั้งขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมการกิน ที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะความบริสุทธิ์ของชาวหลวงพระบาง ที่ยิ้มแย้มแจ่มใสและคงความมีมิตรภาพเหมือนเมื่อครั้งอดีต ซึ่งถือเป็นเสน่ห์ดึงดูดประการสำคัญที่ทำให้นักท่องเที่ยวทั่วโลก ต่างพยายามหาโอกาสมาเยี่ยมเยือนเมืองแห่งนี้ ที่ยังคงวิถีชีวิตแบบดั้งเดิม

      วันที่เดินทางไปหลวงพระบาง เริ่มสนุกตั้งแต่ที่สนามบินแล้วเพราะว่าพลาสปอร์ตมีอายุเหลือแค่ 4 เดือนเลยเป็นเรื่อง สนามบินที่เมืองไทยบอกว่าคุณสามารถเดินทางได้ค่ะ แต่พอถึงหลวงพระบางถ้าคุณโดนปรับให้ไกล่เกลี่ยเอง(500 ดอลล่า) ทางสายการบินไม่รับผิดชอบใดๆทั้งสิ้น ถ้าคุณยังยืนยันว่าจะเดินทางกรุณาเซ็นต์เอกสารด้วยค่ะ ไหนๆก็ไหนๆสู้ตายปรับก็ปรับ
   เย้!ถึงหลวงพระบางแล้ว ตามคาดหมายตรวจคนเข้าเมืองตำรวจลาวมิได้รอช้า เชิญเข้าห้องไปเจรจาเสียค่าปรับ ก่อนอื่นบอกตัวเองยิ้มเข้าไว้ ทำตัวให้เป็นมิตรที่สุด คุยยังไงก็ได้ให้โดนปรับน้อยที่สุด บ้านพี่เมืองน้องเค้าคงไม่ใจดำหรอกน่า สุดท้ายเลยได้เพื่อนเป็นตำรวจหญิงซะงั้น โดนปรับ200เหรียญลดสุดๆแล้วแต่ก็ยังดี เราจ่ายเป็นเงินไทย 7000 บาท
      เที่ยวต่อ แต่ละที่ที่ไป ทำให้อยากย้อนเวลาไปดูเชียงใหม่เมื่อหลายสิบปีก่อนคงต้องสวยน่าดูและน่าอยู่เป็นที่สุด
          ที่นี่คือ ock tok pop อยู่ติดริมแม่นำ้โขง เป็นบ้านสไตส์หลวงพระบาง และมีแม่หญิงลาวมาตำฮูก(ทอผ้า)เลี้ยงไหม เรียกว่ามีให้ดูทุกขั้นตอน และก็มีคลาสให้ความรู้ และมีผ้าสวยๆขายแบบครบวงจรถ้าใครที่ชอบ ถ้าไปหลวงพระบางก็อย่าลืมแวะไปดูแล้วกัน
         สถานที่สวยงามมีเยอะแยะ วัดบนเขาก็น่าทึ่ง แต่น่าเสียดายเก็บภาพมาน้อย ถ้ารู้ว่าภาพที่ถ่ายจะมีประโยชน์นำมาแชร์ให้ได้ดูกัน จะถ่ายมาเยอะๆแบบไม่ยังเลยทีเดียว555
      หากมาเที่ยวหลวงพระบาง ขอแนะนำว่าถ้าอยากเห็นทุกมุมให้เที่ยวโดยการเดิน เพราะในเมืองมีวัดเยอะสวยทุกจุด   ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียน ร้านค้า การใช้ชีวิตความเป็นอยู่ 
                                                                                                         
                          ยังมีตลาดเช้า เจออาหารแปลกเยอะเลย และสกุลเงินของลาวคือกีบ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา 1 บาทประมาณ 250 กีบ แต่สามารถใช้เงินบาทหรือเงินดอลลาร์สหรัฐได้
      

     พูสี ยอดเขาที่มีความสูงราว 150 เมตร ตั้งอยู่ใจกลางเมืองหลวงพระบาง เมื่อขึ้นไปบนยอดสามารถมองเห็นเมืองหลวงพระบางได้โดยรอบ โดยมีบันไดทางขึ้นอยู่ด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือตรงข้ามพระราชวัง 328 ขั้น ตลอดจนสองข้างทางร่มรื่นไปด้วยต้นจำปาหรือลั่นทม ซึ่งเป็นดอกไม้ประจำชาติของลาวที่จะออกดอกบานสะพรั่งในช่วงฤดูร้อน เชื่อกันว่าแต่เดิมบริเวณนี้เป็นเขตป่าศักดิ์สิทธิ์ ต่อมาเมื่อมีฤาษีขึ้นไปอาศัยอยู่ชาวบ้านจึงเรียกว่าพูฤาษี หรือพูสีมาจนถึงปัจจุบัน นักโบราณคดีบางคนเชื่อว่า พูสีอาจหมายถึงพูศรี มาจากคำว่าศรีซึ่งเป็นศรีของเมืองหลวงพระบาง ด้านบนเป็นที่ตั้งของพระธาตุจอมสี ตัวพระธาตุเป็นทรงดอกบัวสี่เหลี่ยมทาสีทอง ตั้งอยู่บนฐานสีเหลี่ยม ยอดประดับด้วยเศวตฉัตรสีทองสำริด 7 ชั้น สูงประมาณ 21 เมตร

       บริเวณพูสียังมีสิ่ง ก่อสร้างทางพุทธศาสนาอีกหลายแห่ง แต่ไม่เป็นที่นิยมมากนัก อาทิ วัดพระธาตุจอมสี วัดถ้ำพูสี วัดป่าแค วัดป่ารวก วัดป่าฝาง วัดป่าแมว เป็นต้น เนื่องจากวัดที่อยู่ในบริเวณนี้เป็นวัดป่ากรรมฐาน จึงไม่มีสถาปัตยกรรมใหญ่ๆ จนกระทั่งปลายศตวรรษที่ 18 ต้นศตวรรษที่ 19 จึงเริ่มมีการก่อสร้างพุทธสีมา กุฎีหอพระไตร หอไหว้พระด้วย

                                                                                                   

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น