10 มี.ค. 2554

กัมพูชา

             นครวัดนครธม
                  ประวัติ :
         นครวัด สร้างขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ในรัชสมัย พระเจ้า สุริยวรมันที่ 2 ซึ่งครองราชย์อยู่ในช่วง พ.ศ. 1650-1693 ซึ่งขณะนั้นศาสนาพราหมณ์ นิกายไวษณพนิกาย (นับถือ พระวิษณุเป็นใหญ่) กำลัง รุ่งเรืองอยู่ในอาณาจักรขอม
พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 จึงโปรดให้สร้างนครวัด เพื่อบูชาพระวิษณุ และนอกจากนั้นแล้ว ก็เพื่อให้เป็นที่ เก็บพระศพของพระองค์ เมื่อยามสิ้นพระชนม์แล้วด้วย ดังนั้น นครวัด จึงแตกต่างกับปราสาทอื่นๆ ตรงที่หันหน้าไปทางทิศตะวันตก ซึ่งเป็นทิศของผู้ตาย แทนทิศตะวันออก
         ตามธรรมเนียมของขอม จะมีการตั้งพระนามใหม่ ถวายกับกษัตริย์ที่สิ้นพระชนม์แล้ว พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 นั้นมีพระนามหลังสิ้นพระชนม์ว่า "บรมวิษณุ" นครวัด จึงมีอีกชื่อว่า "บรมวิษณุมหาปราสาท"
       
         ในการสร้างปราสาทนครวัด ต้องใช้หินปริมาตรหลายล้าน ลูกบาศก์เมตร ที่นำมา จากเทือกเขาพนมกุเลน ซึ่งอยู่ห่าง จากนครวัดกว่า 50 กม. โดยใช้ช้างนับพันเชือก ในการขนย้าย ใช้แรงงานนับแสนคนในการก่อสร้างตบแต่ง ใช้เวลา สร้างกว่า 30 ปี จนสิ้นรัชสมัยของ พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ก็ยังไม่แล้วเสร็จ
แม้จะมีการสร้างต่อในสมัย พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 และสมัย นักองค์จันทร์ ถึงกระนั้น ก็ยังไม่เสร็จ สมบูรณ์ดี
         นครวัดนั้น ไม่ได้เป็นเพียงศาสนสถานเท่านั้น แต่ยังเป็นราชธานีของอาณาจักรขอมด้วย ภายในนครวัด จึงมีพื้นที่กว้างใหญ่มาก มีความยาวถึง 1.5 กม. และกว้าง 1.3 กม. รวมเป็นพื้นที่ประมาณ 1,219 ไร่ (2 ตารางกม.)
         นครวัดถูกล้อมรอบด้วยบึงน้ำขนาดใหญ่ มีสะพานเชื่อมสู่ภายนอก เฉพาะประตูทิศตะวันตก และประตูทิศตะวันออกเท่านั้น
         ขณะที่ พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ยังทรงพระชนม์ ชาวขอมยังคงนับถือศาสนาพราหมณ์ นิกายไวษณพนิกาย
ศาสนาประจำชาติของอาณาจักรขอมนั้น สลับสับเปลี่ยนไปมา ระหว่าง ศาสนาพราหมณ์ นิกายไวษณพนิกาย, ศาสนาพราหมณ์ นิกายไศวนิกาย และศาสนาพุทธ ขึ้นอยู่กับว่า กษัตริย์ผู้ครองราชย์ขณะนั้น จะทรงนับถือศาสนาใด
         เมื่อ นักองค์จันทร์ ทรงขึ้นครองราชย์ พระองค์ทรงนับถือศาสนาพุทธ เทวาลัยแห่งนี้จึงกลายเป็นวัด ในศาสนาพุทธ
         คำว่า "นอกอร์" นั้น หมายถึง นค
"นอกอร์วัด" ที่ชาวเขมรเรียก จึงหมายความว่า "นครวัด "
นั่นเอง
         เมื่อชาวฝรั่งเศสเข้ามาพบนครวัด ได้เรียกชื่อของนครวัดเพี้ยนไปจาก "นอกอร์วัด" เป็น "อังกอร์วัด" และใช้มาว่า อังกอร์วัด มาจนทุกวันนี้

                                                                 
                                 
















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น